คุณแม่มือใหม่ที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ในญี่ปุ่นแล้วนั้น อาจจะงงๆ ไม่รู้ว่าควรจะไปติดต่อที่ไหน หรือ ทำอะไรก่อนเป็นอันดับแรก
โดยส่วนมากคุณแม่จะเริ่มรู้สึกตัวเมื่อประจำเดือนขาดไปสัก 1-2 สัปดาห์ และซื้อที่ตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจเองที่บ้านซึ่งพอขึ้น 2 ขีดแล้ว ก็ควรจะหาคลินิกสูตินรีเวช(産婦人科クリニック) หรือ โรงพยาบาลที่มีแผนกสูตินรีเวช(産婦人科) เพื่อเข้าไปตรวจครรภ์ และ ฝากครรภ์ต่อไปค่ะ
ระบบคลินิกและโรงพยาบาลในญี่ปุ่นโดยเฉพาะสูตินรีเวชนั้น ต้องทำการนัดวันเวลาก่อนเข้าไปพบคุณหมอค่ะ ไม่สามารถWalk-in เข้าไปได้ อย่าลืมโทรไปนัดก่อนนะคะ
หลังจากไปพบคุณหมอตรวจการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นตรวจเลือด ตรวจอัลตราซาวด์แล้ว เมื่อพบหัวใจและตัวเด็ก (ราวๆ 8 สัปดาห์) คุณหมอจะบอกให้เราไปที่สำนักงานเขตที่เราอาศัยอยู่เพื่อขอสมุดสุขภาพแม่ลูก(母子健康手帳申請)ค่ะ สมุดสุขภาพแม่ลูกเล่มนี้ จะอยู่กับเราและลูกไปจนโตเข้าโรงเรียนเลยค่ะ
ซึ่งถ้าเป็นที่เมืองไทยเราก็จะแค่ไปฝากครรภ์และพบคุณหมอที่โรงพยาบาลเรื่อยๆนะคะ แต่ที่ญี่ปุ่นจะมีสวัสดิการให้คุณแม่ตั้งแต่ฝากครรภ์เลยค่ะ ดังนั้นคุณแม่ต้องไปลงทะเบียนขอสมุดสุขภาพแม่ลูกตั้งแต่คุณหมอ Confirm การตั้งครรภ์นะคะ จะได้รับคูปองช่วยเหลือค่าใช้จ่ายตอนฝากครรภ์มาด้วย
สวัสดิการคุณแม่ตั้งครรภ์ในญี่ปุ่น (日本の出産手当)
ประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาอัตราการเกิดต่ำมาสักพักแล้วค่ะ ปี2020 ที่ผ่านมามีเด็กทารกเกิดใหม่เพียง 850,000 คนเท่านั้นค่ะ แน่นอนค่ะว่า ทางรัฐบาลก็...
เรามีตัวอย่างของสมุดแม่ลูกของเมืองโกเบมาให้ดู พร้อมทั้งตั๋วฟรีที่สามารถนำไปใช้ในการตรวจครรภ์ ตั๋วตรวจสุขภาพฟันฟรี สมุดตั๋ววัคซีนของเด็กก็จะได้มาด้วยเลยค่ะ
สมุดฝากครรภ์ของเมืองโกเบ เพิ่งเปลี่ยนแบบค่ะ มีร้านเสื้อผ้าเด็กชื่อดัง Familiar เป็นผู้สนับสนุนหลัก น่ารักมากค่ะ
สำหรับคุณแม่คนไทยมีสมุดสุขภาพแม่ลูกเป็นภาษาไทยด้วยนะคะ ขอรับที่เขตได้ แต่ถ้าไม่มีก็สามารถสั่งซื้อได้ค่ะ
教材詳細 公益財団法人母子衛生研究会 有料教材販売
公益財団法人母子衛生研究会の有料教材・書籍を、法人のお客さまに販売しております。 健やかな妊娠・出産・子育てを応援する本や教材、指導者・援助者様に向けた書籍や、ご家庭のお母さん、お父さんが読んでいただける本がございます。個人でご購入のお客さまは「本の楽育まんてん堂」よりお買い求めください。
หรือ Download PDF ได้ที่นี่
ทีนี้เวลาเราไปพบแพทย์เพื่อตรวจครรภ์ ก็จะต้องพกสมุดสุขภาพแม่ลูก และตั๋วฟรีที่ใช้ตรวจครรภ์ไปด้วยนะคะ คุณหมอจะจดบันทึกข้อมูลต่างๆลงไปในสมุดค่ะ การตั้งครรค์ปกติตามธรรมชาติในญี่ปุ่นนั้นไม่ถือเป็นอาการเจ็บป่วย ดังนั้นตรวจครรภ์ในญี่ปุ่นจะไม่สามารถใช้ประกันสุขภาพเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้ (ยกเว้นมีความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์) เวลาเราตรวจครรภ์ก็ต้องใช้คูปองที่ได้จากเขตแบ่งเบาค่าตรวจค่ะ
นอกจากนี้ ทางเขตก็จะให้ข้อมูล กิจกรรม งานสัมมนา และเอกสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ รวมไปถึงพวงกุญแจ Maternity Mark ให้มาห้อยกระเป๋าเพื่อบอกคนรอบข้างว่าใจดีกับคนท้องหน่อยนะ
หลังจากนั้นก็อย่าลืมเลือกและจองสถานพยาบาลที่เราต้องการคลอดไว้ด้วยนะคะ โรงพยาบาล หรือ คลินิกที่ดังๆ คิวจะเต็มเร็วมาก ถ้าไปรับสมุดสุขภาพแม่ลูกที่เขตแล้ว ก็อย่าลืมให้ทางเขตแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่เราไปฝากครรภ์เรื่องจองคลอดบุตรด้วยนะคะ
การเลือกสถานพยาบาลสำหรับการคลอดบุตรในญี่ปุ่น (分娩先の選び方/考え方)
หัวข้อนี้อาจจะงงๆ หน่อย สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกที่ประเทศไทยนะคะ ว่า เอ๊ะ ทำไมต้องเลือกด้วย ก็ไปโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน หรือ ที่ที่ดังๆ ก็จบหรื...
คลินิกที่ญี่ปุ่น จะไม่ค่อยจ่ายวิตามิน หรืออาหารเสริมให้คุณแม่ตั้งครรภ์ แต่จะเน้นให้คุณแม่ทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบ5หมู่ ถ้าคุณแม่อยากทานอาหารเสริม ก็แนะนำให้ทานโฟลิกเป็นหลักค่ะ ซึ่งยี่ห้อที่แม่ๆนิยมกันก็คือ Elevit สั่งซื้อได้จาก Rakuten หรือ Amazon ก็ได้ค่ะ
0 Comments