ช่วงนี้แอดมินกำลังมึนงงกับข้อมูล e-Money มากๆเลยค่ะ เรียกว่า ยืนงงในดง e-Money ก็ไม่ผิดนัก คือ ปกติแล้วแอดมินเป็นสายบัตรเครดิตค่ะ รูดปรี๊ดสะสมแต้มแล้วก็รวบยอดจ่ายสิ้นเดือน (กลุ้มใจทีเดียวว่าเงินในบัญชีพอตัดไหม 😂😂😂)
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา ที่ญี่ปุ่นขึ้น Tax จาก 8% เป็น10% ใช่ไหมคะ แล้วทีนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อย รัฐบาลก็มีนโยบายช่วยเหลือออกมาหลายอย่างค่ะ หนึ่งในนั้นคือการให้ส่วนลด2-5% กับผู้ที่ใช้ e-Money ในการชำระค่าสินค้าในร้านที่กำหนด
e-Money ในที่นี้หมายถึง ก็ บัตรเครดิต บัตรเดบิต การชำระเงินผ่าน QR Code หรือ แอพพลิเคชันบน Smartphone จะเป็น Prepaid หรือ Postpay ได้หมดค่ะ (Cashless) ปกติแอดมินใช้บัตรเครดิตอยู่แล้วก็น่าจะจบใช่ไหมคะ แต่ๆๆๆๆๆ บริษัทผู้ให้บริการ e-Money บนแอพพลิเคชันต่างๆ ก็ใช้โอกาสนี้ทำแคมเปญเรียกลูกค้า หาส่วนแบ่งการตลาดกันพรึ่บเลยค่ะ โดยใจป้ำเพิ่ม Point หรือ Cashback ให้ทบกับที่รัฐบาลให้ไว้ขึ้นไปอีกค่ะ ก็เลยทำให้แอดมินผู้ชอบสะสมแต้มไปแลกซื้อของต้องหันขวับกลับมาศึกษาแอพพลิเชคัน ก็เลยยืนงงอยู่ตรงนี้นี่แหละค่ะ
และแอดมินก็เชื่อว่ามีคนยืนงงอยู่กับแอดมินแน่นอน วันนี้แอดมินมีข้อมูลแอพพลิชันที่น่าสนใจจัดอันดับจาก https://crebgs.com/emoney-choice/มาแชร์กันค่ะ เพื่อเราจะได้ใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่า เป็นแม่บ้านประสิทธิภาพสูง 😂
1. Mobile Suica
https://www.jreast.co.jp/mobilesuica/start/ |
เป็นบัตรและแอพพลิเคชันที่น่าสนใจอันดับ 1 ของชาวโตเกียวที่เวปไซต์ cerbg.com ให้คะแนนไว้ค่ะ เหมาะสำหรับคนที่เดินทางโดยรถไฟ JR ทางฝั่งคันโตอยู่เป็นประจำ (ทางคันไซใช้ Iccoca มีบัตรแต่ไม่มีแอพพลิเคชัน) เพราะตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา Mobile Suica จะคืนแต้ม2% ให้กับทุกการใช้งานรถไฟ JR ค่ะ แถมยังชำระเงินได้สะดวกรวดเร็วเพียงแค่มีสมาร์ทโฟน และมีร้านค้าเข้าร่วมถึง380000 ร้าน
แอพพลิเคชันใช้ได้กับ iPhone7 เป็นต้นไป และดาวน์โหลดมาใช้กันได้ฟรีๆเลยค่ะ ส่วน Android ก็ใช้ได้เช่นกัน แต่เครื่องต้องมี Felicia(e-wallet) ค่ะ มีค่าบริการปีละ 1080 เยน แต่ถ้าลงทะเบียนผูกกับบัตรเครดิต View Card ของทาง JR ก็จะฟรีค่าธรรมเนียม 1080 เยนนี้ไปค่ะ
และเพิ่มความคุ้มขึ้นไปอีก ถ้าเติมเงินจากบัตรเครดิต View Card ลง Mobile Suica ก็จะได้แต้มเพิ่มอีก 1.5% รวมแล้วเป็น 1.5% + 2.0% = 3.5% เลยล่ะค่ะ ยังไม่หมดแค่นี้นะคะ ยังมีบัตรเครดิต "Big Camera View Card" ที่มีฟังก์ชันAuto Charge ที่สามารถเชื่อมกับแอพพลิเคชัน Mobile Suica ได้เลย และถ้าเราตั้งรับใบแจ้งค่าใช้จ่ายแบบอิเลคทรอนิกแล้ว จะได้รับแต้มพิเศษเดือนละ 50 เยน รวมเป็นปีละ 600 เยนเลยค่ะ
2. PayPay
https://paypay.ne.jp/ |
ทุ่มแคมเปญแจกแต้มแรงสุดๆ ในตอนนี้คือ แอพพลิเคชัน PayPay จากค่าย Yahooและ Softbank ที่คืนแต้มทบ 1.5% + 1000point Cashback นี่แหละค่ะ แอพพลิเคชันนี้เหมาะกับคนที่มีบัตรเครดิตของ Yahoo และผู้ที่สะสมแต้ม T-Point ของ Tsutaya หรือไม่มีบัตรเครดิตก็เติมเงินจากบัญชีธนาคารได้เช่นกัน
เนื่องจากเป็น QR Pay อ่าน QR Code จากหน้าจอ ก็เลยใช้ได้กับ Smartphone ทั่วไปค่ะ ไม่ต้องมี e-wallet ก็ใช้ได้
PayPay ให้แตัม 1.5% เมื่อมีการเติมเงินจากบัญชีและนำไปใช้ชำระค่าสินค้า แต่จะให้คุ้มขึ้นไปอีกคือเติมเงินผ่านบัตรเครดิต Yahoo Japan ก็จะได้แต้ม T-Point เพิ่ม 1% เป็น 1%+1.5% = 2.5%
และที่พิเศษไม่เหมือนใครคือมี PayPay Chance สุ่มแจกรางวัลพิเศษCashback 1000 เยน(โอกาส1/10)และ 100เยน(โอกาส1/25) เหมาะกับสายดวงจับสลากดีๆ นอกจากนั้น เพียงแค่เอาแอพพลิเคชัน PayPay ผูกกับบัญชีก็จะได้เงิน 1000 เยนเข้าบัญชีด้วยค่ะ
พิเศษสุดๆ กับการคืนแต้มเพิ่มให้อีก 5% กับผู้ที่ใช้บัตรเครดิต Yahoo Japan + กับการคืนแต้มจากรัฐบาล 5% ก็จะทำให้ได้ส่วนลดสูงสุดถึง10% เลยค่ะ แคมเปญพิเศษนี้มีแค่ 2เดือนเท่านั้นค่ะ คือภายใน 1 ตุลาคม 2019 -30 พฤศจิกายน 2019 (ไม่เกิน1000เยนต่อครั้ง สูงสุด25000เยนต่อเดือน)
3. R Pay
https://pay.rakuten.co.jp/ |
R pay เป็นการชำระเงินด้วยการอ่าน QR Code ก็เลยใช้ได้กับ Smartphone ทั่วไปค่ะ แต่ถ้าใครอยากใช้แบบแตะบัตร ก็มี R-Edy ให้ใช้ด้วยเช่นกัน ต่างกันในเรื่องของการคืนแต้ม0.5%
R pay ให้แต้ม 0.5% ทุกการใช้จ่าย และได้แต้มเพิ่ม 1.5% ถ้าเติมเงินผ่านบัตรเครดิต Rakuten รวมเป็น 1.5%+0.5%=2% บัตรเครดิต Rakuten เองก็เป็นที่นิยมมากๆค่ะ สมัครง่ายและได้แต้มพิเศษในการซื้อของผ่านเวปไซต์ของ Rakuten ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี
พิเศษสุดๆในช่วง 2 เดือนนี้ คือ R pay จะจ่ายส่วนต่างเป็นแต้มคืนให้ครบ 5% จากร้านค้าทุกร้านที่ใช้ R pay ชำระค่าสินค้าค่ะ โดยจะคืนให้เป็น R point เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2019- 30 พฤศจิกายน 2020
สมัครบัตรเครดิต Rakuten ด้านล่างนี้ค่ะ สมัครใหม่ได้ 5000 แต้มด้วย
ถึงแต้มจะให้น้อยกว่าที่อื่นเล็กน้อย แต่แอดมินก็เลือกใช้ R Pay ในแง่ของความสะดวกในการสะสมแต้ม R-Point ร่วมกับบัตรเครดิตและซื้อของจาก Rakuten ค่ะ ทีมบอลที่เชียร์ก็มี Rakuten เป็นสปอนเซฮร์ใหญ่ เรียกได้ว่า ชีวิตติดราคุเต็น นี่ก็คิดว่าจะไปสมัครงาน Rakuten อยู่เหมือนกันค่ะ อิอิ
4. QUICPay,iD
https://www.quicpay.jp/ |
QUICPay กับ iD จะเป็นแอพพลิเคชัน e-money ที่จากต่าง 3 แบบก่อนหน้าที่พูดถึงไปแล้วค่ะ เป็นแบบใช้ก่อนจ่ายทีหลังหรือ Postpay ไม่ต้องเติมเงินก่อนใช้ แค่ผูกกับบัตรเครดิตก็ใช้ได้แล้วค่ะ เหมือนเป็นแอพพลิเคชันช่วยให้การชำระเงินด้วยบัตรเครดิตสะดวกรวดเร็วขึ้นนั่นเอง แค่ติ๊ดๆ ก็ชำระเงินได้แล้ว (ช้อปเพลินแน่ๆ 😂) ใช้ได้กับโทรศัพท์ Smartphone ที่มีฟังก์ชัน e-wallet ค่ะ
ร้านค้าที่สามารถใช้ QUICPAY กับ iD ก็มีมากมายทั่วประเทศญี่ปุ่นเลย แต่การสะสมแต้มพิเศษจะน้อยกว่าแบบ Prepaid ก็จะได้แต้มทั่วไปในการใช้จ่ายบัตรเครดิตค่ะ บวกกับการคืนแต้ม 2-5% จากรัฐบาลในช่วงนี้
บัตรเครดิตที่แนะนำให้ผูกกับ QUICPAY ก็คือบัตรเครดิต Rakuten เช่นกันค่ะ โดยเฉพาะผู้ใช้ iPhone + บัตรเครดิต Rakuten จะได้ชำระเงินแบบติ๊ดๆ ได้(R Edy ใช้ได้แค่ Android)
สมัครบัตรเครดิต Rakuten ด้านล่างนี้ค่ะ สมัครใหม่ได้ 5000 แต้มด้วย
5. Origami Pay
https://origami.com/en/origami-pay/ |
อีกหนึ่งแอพพลิเคชันที่เด่นในด้าน Cashback นกกระดาษสีส้ม Origami Pay ค่ะ เป็นแอพพลิเคชันที่ชำระเงินผ่านการอ่าน QR Code ก็เลยใช้งานได้บน Smartphone ทั่วๆไป เพียงแค่เราลงทะเบียนผูกแอพพลิเคชันกับบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต ก็จะทำการเติมเงินอัตโนมัตเมื่อเราทำการชำระเงินค่าสินค้าผ่าน QR Code ทันทีสะดวกรวดเร็วมากค่ะ แต่ข้อด้อยของแอพพลิเคชันนี้คือ ร้านที่สามารถชำระเงินผ่าน Origami Pay ยังมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ 4 อันดับข้างต้น
บัตรจะมีส่วนลดให้ทันที 3% ถ้ามีการชาร์จเงินจากบัญชีธนาคารที่เราผูกกับแอพพลิเคชัน และบัตรจะมีส่วนลดให้ทันที 1% ถ้ามีการชาร์จเงินจากบัตรเครดิตที่ผูกไว้ค่ะ เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2019- 31 มกราคม 2020 เป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งทำให้มีส่วนลดสูงสุดถึง 8%
บริการอื่นๆ
นอกจาก 5 อันดับที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ยังมีบริการอื่นๆ ที่มีแคมเปญให้แต้มคืน มีส่วนลดอีกมากเลยค่ะ เช่น LINE Pay, D払い(D Harai),AU Pay,Nanaco,ICCOA, PASMO,PITAPA เป็นต้น ถ้าใครมีบัตรหรือแอพพิเคชันแบบนี้ใช้อยู่แล้วก็ลองเชคแคมเปญพิเศษดูนะคะ ถ้าโอเคอยู่แล้วจะได้ไม่ต้องสมัครกันใหม่ เพิ่มภาระในการดูแลรักษาบัตรและบัญชีค่ะขอบคุณข้อมูลจาก
https://crebgs.com/emoney-choice/
0 Comments